9) DANCE MUSIC ดนตรีเต้นรำแบ่งแยกได้อยากมาก เพราะทุกๆแนวสามารถนำมาเต้นได้หมด ไม่ว่าจะเป็น พ็อพ,ร็อค,บูลส์,แจ๊ซ ฯลฯ แล้วแต่ว่าจะเต้นเร็วหรือช้า และมีท่วงท่าแบบไหนก็ได้ แต่ปัจจุบันดนตรีเต้นรำจะถูกแยกออกมาอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยจะเปิดตามสถานที่ที่เป็นคลับเต้นรำโดยเฉพาะเท่านั้น ดนตรีเต้นรำที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ ดนตรีพ๊อพแด๊นซ์ โดยความหมายก็คือดนตรีที่กำลังได้รับความนิยม หรือฮิตอยู่ในขณะนั้นๆ นำมาใส่จังหวะให้เร็วขึ้นเพื่อเต้นได้ แต่นอกเหนือจากนั้นแล้ว ก็จะมีแนวหลักที่มีมาแต่ดั้งเดิมตั้งแต่ยุค 80’s จนถึงปัจจุบันดังนี้คือ
- DISCO เป็นแนวเพลงที่เกิดในยุค 70’s โดยคลับใน New York ที่เลือกเปิดแต่เพลง Soul , Funk , Grooves แบบเต้นรำจนพัฒนากลายเป็น Disco โดยนำเอาดนตรีโซลมาใส่จังหวะใหม่เพิ่มความเร็ว และศิลปินส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินผิวสี เช่น Donna Summer , Gloria Gayner , Boney M และอัลบั้มที่พลิกประวัติศาสตร์เป็นอัลบั้มขายดีตลอดการจนกระทั้ง Micheal Jackson มาลบสถิติได้ก็คือ Saturday Night Fever ที่มีเพลงฮิตหลายๆ เพลงของ The Bee Gees ในอัลบั้มนี้ที่ติดอับดับ Top Ten ทั้งฝั่งอังกฤษ และอเมริกา ส่วนคลับเป็นตัวแทนของดิสโก้ก็คือ Studio 54 ที่มีแขกชื่อดังมากมายมาเที่ยวที่คลับแห่งนี้ ที้งศิลปิน นักร้อง นักธุรกิจ และปิดตัวลงในช่วงต้นยุค 80’s จนกลายเป็นตำนานของคลับในช่งดิสโก้เฟื่องฟู
- GARAGE พัฒนาต่อมาจากการนำเอาดนตรีดิสโก้ มาเพิ่มความเร็วของจังหวะและเนื้อหากระชับมากขึ้น เน้นความหรูหราของเสีงออร์แกน แต่สไตล์ของเสียงร้องยังคงความเป็นโซลอยู่เหมือนเดิม นิยมเปิดกันในคลับของชาวเกย์ที่นิวยอร์ค ซึ่งมีชื่อว่า The Garage ในที่สุดจึงใช้ชื่อคลับเป็นแนวเพลงศิลปินแนวนี้ที่เป็นที่รู้จักในบรรดาคนฟังกันคือ Toddterry , Mathawelth , Frankie Knuckles
- HOUSE MUSIC ในช่วงต้นยุค 80’s ได้มีปรากฎการณ์ดนตรีขึ้นมาใหม่เป็นดนตรี House Music ที่นำเอาดนตรี Disco มาปรับปรุงตัดแต่งรีมิกซ์เพิ่มเติมความเร็วของบีท หรือจังหวะเพิ่มขึ้น และเนื้อร้องเหลือเพียงแค่ทอนฮุคหรือคำเท่ๆบางรคำที่นักเต้นสามารถร้องตามได้เท่านั้น และใส่บีทที่เป็นเสียงสังเคราะห์ผสมผสานกันกับ Electronic , Synth Pop , Jazz โดยสร้างดนตรีแนวนี้กันในโกดังที่เรียกว่า Ware House และสุดท้ายดัดเหลือ House คำเดียว ความเร็วของจังหวะหรือ BPM (Beat Per Minute) คือความเร็วของจังหวะกลอง หรือกระเดื่องที่นับได้ภายใน 1 นาทีจะอยู่ระหว่าง 100 – 125 จนเป็นดนตรี House นี่ได้เป็นพื้นฐานให้กับดนตรีแนวอื่นอีกมากมายในช่วงยุค 80’s ทั้ง Hip House , Ambient House , Acid House และในช่วงปลายยุค 80’s ดนตรี House Music ก็ขับจากการเป็นเพลง Underground มาเป็นดนตรี Pop โดยเริ่มที่ยุโรปจนมาถึงอเมริกาในภายหลัง โดยที่มาของชื่อ House Music นี้มาจากคลับใน Chicago โดยมี Frankie Knuckles เป็น DJ. ในขณะเดียวกันคลับใน New Youk ที่ชื่อ Paradise Garage ก็ได้เปิดตัวขึ้นมี Larry Levan มาเป็น DJ. จนเป็นที่มาของคำว่า House and Garage
- FILTERED DISCO หลังจากที่ Disco เงียงหายไปในช่วงต้นยุค 80’s จนกระทั่งหลายๆคนได้กล่าวว่า Disco ได้ตายแล้ว จนกระทั่งในช่วงปลายยุค 90’s Disco ก็ได้ฟื้นคืนร่างรมาใหม่ในปัจจุบัน และนำระบบการบันทึงเสียงและ Effect มาใส่ในดนตรีและเสียงร้องที่ทุ้มลงหรือแหลมขึ้นจนกลายเป็น Filtered Disco โดยมีทั้งศิลปินผั่งอเมริกา อังกฤษ หรือแม้กระทั่งฝรั่งเศสเข้าร่วมแจมโดยมีชื่อเรียกต่างๆกันทั้ง Neo-Disco , Funk House , French House , French Funk
- FUNKY HOUSE เป็นดนตรีที่นำเอาท่อน Riff Guitar ที่สนุกสนานและการเดินเบสที่ลื่นไหลแบบ Funky มาผสมกับจังหวะดนตรีเต้นรำแบบ House บวกกับเสียงเครื่องสายที่พริ้วไหว จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของ Funky House แล้วใส่เสียงร้องลงไป ศิลปินที่บุกเบิก Funky House ส่วนมากจะเป็นศิลปินจากฝรั่งเศส เช่น Etienne Decrecy , Bob Sinclar , Stardust , Modjo ฯลฯ จนบางครั้งนักวิจารณ์ก็เรียกว่า French House , French Funk แต่ดน่ตรี Funky House ก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ศิลปินฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังคลอบคลุมไปถึงทั้งศิลปินจากอังกฤษยุโรปและอเมริกาอีกด้วย ดนตรี Funky House ไม่ได้หยุดตัวเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนาผสมผสานกับดนตรีแนวอื่นทั้ง Brazillian , African , Samba , Jazz จนกลายเป็นรูปแบบใหม่ๆ
- TECHNO เป็นแนวดนดรีเต้นรำที่แตกแขนงออกไปจากดนตรีดิสโก้แต่มีความเร็วจังหวะ 110 – 130 BPM มีจังหวะที่เน้น่ไปทางหนักหน่วง โดยใช้เสียงของดนตรีสังเคราะห์ล้วนๆ เปรียบเสมือนตัวแทนของการเจริญเติบโตของเทคโนโลยี่ในยุค 80’s ที่มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีสีงเคราะห์มาใช้แทนกีตาร์ กลอง เบสและเปียนโน ลักษณะเด่นของดนตรีเทคโน จะอยู่ตรงที่จังหวะแข็งกระด้าง ไม่มีเสียงเบส แทบจะไม่มีเสียงร้องด้วยซ้ำ รายละเอียดประกอบด้วยเสียงเอฟเฟ็คท์ต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นท่วงทำนองบ้างไม่เป็นบ้าง ซึ่งจะเป็นที่นิยมกันมากในยุโรป คือ เยอรมันและฮอลแลนด์ ซึ่งต่อมาก็มีการนำดนตรีพ็อพมาผสมผสานและถูกเรียกว่า เทคโน แด็นซ์ (techno Dance) วง Kraftwerk ของเยอรมันเป็นต้นแบบ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นรากฐานของดนตรีเทคโนยุคหลังๆ ที่นิยมเปิดกันตามคลับเต้นรำในปัจจุบันซึ่งศิลปินจะออกวางขายกันเฉพาะซิงเกิล
- EURO BEAT แตกแขนงมาจากดนตรีดิสโก้เช่นกัน และมีความเร็วของจังหวะที่ใกล้เคียงกับดนตรีเทคโน แต่มีรายละเอียดของดนตรีสังเคราะห์น้อยกว่า มีทำนองและเนื้อร้องที่ไพเราะ น่าฟังมากกว่า ซึ่งได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของดนตรี จากฝั่งยุโรปที่นิยมกันมาตั้งแต่ยุค 80’s จนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดังอย่าง Pet Shop Boy และ Erasure เป็นตัวแทน
- TRANCE เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรี Ambient กับดนตรีเทคโน กล่าวคือ ดนตรีแอมเบี้ยนท์ เป็นดนตรีที่ประกอบไปด้วยเสียงของบรรยากาศรอบตัวเช่น เสียงลม เสียงฝน เสียงคน หรือเสียงสัตว์ แต่ไม่มีจังหวะเมื่อนำบีทที่มีความเร็ว 110-130 BPM ของดนตรีเทคโนมาผสมบวกกับเบสไลน์ของโรลลิ่งเบส เสียงใหญ่ผสมกับเสียงสังเคราะห์ของซินธ์และเอฟเฟ็คท์ต่างๆ โดยใส่ท่วงทำนองที่ไพเราะเข้าไปจึงฟังดูล่องลอย กว้างขวาง มหึมา และหรูหราของเสียงซินธ์ ลักษณะที่เด่นชัดและเรียกว่า Trance เพราะเป็นดนตรีที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปชอบนำไปเปิดตามปาร์ตี้ ตามที่ต่างๆที่พวกเขาไปเที่ยวกัน และเมื่อไปถึงเมืองไหนหรือประเทศใด พวกเขาก็นำกลิ่นอายหรือบรรยากาศของสถานที่นั้นๆมาสร้างเป็นเมโลดี้ ผสมผสานกับบีทเทคโน ดนตรีแนวนี้จึงกลายเป็นดนตรีประกอบการเดินทางแหล่งกำเนิดของดนตรีแนวนี้ คือ ประเทศเยอรมัน เรียกว่า Europian Trance และที่เมือง Goa ประเทศอินเดีย เรียกกว่า Goa Trance
- ELECTRONICA เป็นชื่อที่นักวิจารณ์ใช้เรียกแทนดนตรีเต้นรำแนวใหม่ที่แตกแขนงมาจากดนตรีเต้นรำแนวหลักๆ ข้างต้น แต่ยังสัดส่วนที่คล้ายและไกล้เคียงกัน แตกต่างกันที่รายละเอียดและโครงสร้างดนตรีที่นำมาผสมผสานและรีมิกซ์เข้าด้วยกันแนวหลักที่เกิดขึ้นใหม่มีดังต่อไปนี้ Hard House ความเร็ว 110-130 BPM / Deep Funk ความเร็ว 110-120 BPM / Progressive House ความเร็ว 110-130 BPM
- HIP HOP เป็นดนตรีแรปที่เพิ่มรายละเอียดของดนตรีที่เป็นทั้งกีตาร์ เบส และคีย์บอร์ด เข้าไปบวกกับลูกเล่น การสแครซแผ่นเสียงจาก Turntable และเสียงเอ๊ฟเฟค์ทจากเครื่องมิกซ์เซอร์ ดนตรีจึงสละสลวยและน่าฟังมากกว่าดนตรีแรป แต่ถ้าลดความเร็วลงมาประมาณเท่าตัว ก็จะเรียกว่าดนตรี Tip Hop ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงร้องในสไตล์แรปไปเป็นสไตล์โซล แต่ถ้าเพิ่มความเร็วของจังหวะขึ้นเท่าตัว ก็จะเรียกว่าดนตรี Hard Hop แต่รายละเอียดดนตรียังเหมือนเดิม
- BIG BEAT เป็นดนตรี Hip Hop ที่เพิ่มความเร็วของจังหวะประมาณ 3-5 เท่า เปลี่ยนโครงสร้างดนตรีจากการแรปมาเป็นดนตรีโซล เพิ่มเบสไลน์ของดนตรีฟังก์บวกลูกเล่นสแครซแผ่นและการแซมเพลอร์เสียงต่างๆลงไปผลลัพท์คือ เสียงของบีทที่ใหญ่โตค้นพบโดย The Chemical Brothers แต่ผู้ที่ทำให้โด่งดังทั่วโลกคือ Fat Boy Slim
- BREAK BEAT ดนตรีร็อคที่ถูกเปลี่ยนเสียงของดนตรีจากของจริงมาเป็นเสียงสังเคราะห์ ทั้งเสียงกลองและกี่ตาร์ เนื้อร้องจะถูกตัดต่อมาจากเพลงต่างๆนำมาแซมเพลอร์ลงไป ผสมกับเสียงที่รกๆของเอฟเฟ็คท์ จังหวะที่แข็งกระด้างเหมือนเทคโน แต่อัตราเร่งช้ากว่า
- BRUM N’ BASS & JUNGLE เป็นดนตรีที่ทรงพลังด้วยการรวมตัวของดนตรี โซล ฟังก์ แจ๊ซ เรกเก้ และ ดัมส ร่วมกันล่องลอยไปบนจังหวะที่แข็งกระด้าง หนักแน่น เร่งเร็วถี่ยิบในอัตรา 140-160 BMP โดยมี MC หรือแรปเปอร์จะคอยแรปประกอบกับการมิกซ์ของดีเจ โครงสร้างหลักของจังหวะคือเสียงกลองและเบส ที่พัฒนามาจากดนตรีเทคโนและฮาร์ดคอร์ และพถ้ามีจังหวะที่เร็วกว่าเดิมมากขึ้น หรือตัดเสียงเบสออกก็จะถูกเรียกเป็นดนตรีจังเกิ้ล (Jungle) เพราะมีกลิ่นอายและจังหวะที่เหมือนกับดนตรีเต้นรำรอบกองไฟของคนป่า
- URBAN หรืออีกชื่อเต็มว่า Urban contemporary คือดนตรีแบบ R&B SOUL ในช่วงยุค 90’s ถึงปัจจุบัน โดยเป็นเพลงที่เน้นความเป็นป๊อปที่ฟังสบาย มีจังหวะที่ทันสมัย และมีความเป็น Pop มากกว่า R&B และได้ข้ามจากชาร์ท R&B ไปสู่ชาร์ท Pop โดยมีศิลปินผิวสีอย่างเช่น Janet Jackson , Whitney Houston , Ocean เป็นศิลปินบุกเบิกยุคแรกๆ ต่อมาก็มีศิลปินอย่างเช่น Bobby Brown นำ R&B มาใส่บีทแบบ Hip Hop และร้อง Rap ใส่ลงไปจนกลายเป็นที่มาของ Urban ในยุคต่อๆมา
- CHILLED OUT คือดนตรีเต้นรำที่ผ่อนคลาย และมีจังหวะที่ช้าที่สุด มีไว้สำหรับฟังเพื่อผ่อนคลายหรือเต้นรำในจังหวะสโลว์เสียมากกว่า เพราะลักษณะที่ชัดเจนคือ ท่วงทำนองไพเราะ ล่องลอย เคลิบเคลิ้ม ฟังแล้วโลกสว่างไสว ถือว่าเป็นกระแสดนตรีในยุคปัจจุบันที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่เบื่อเพลง Pop แบบ Mainstream แต่ก็ไม่ต้องการดนตรีที่ซีเรียสมากมาย Chill Out จึงเป็นคำที่เรียกแนวดนตรีที่หลากหลายทั้งแนว Lounge , Downtempo , Balearic , Trip Hop , ฯลฯ ซี่งจะเป็นดนตรีแนวอะไรก็ได้ ยกเว้นที่มีจังหวะหนักๆเท่านั้น และอับบั้มที่ทำให้ดนตรี Chill Out เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในเมืองไทยรคือ Café Del Mar ที่เป็นเพลงที่เปิดในคลับซื้อเดียวกันในเกาะ Ibiza ประเทศสเปน ส่วนอับบั้น Chill Out ที่ถือว่าเป็นแนวหน้านั้นคงจะเป็นอับบั้ม Costes ที่เป็นเพลงสำหรับเปิดใน Boutique Hotel ในประเทศฝรั่งเศสมิกซ์โดย Stephane Pompoungac กับอับบั้ม Buddha Bar ที่เป็นเพลงที่เปิดในบาร์ชื่อเดี่ยวกันในประเทศฝรั่งเศสโดย Claude Challe
No comments:
Post a Comment